วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนครั้งที่ 13


วันพุธ ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

    วันนี้เป็นการเรียนการสอนที่หนูไม่ได้ค่ะ เพราะ ไม่สบายค่ะ เป็นไข้ทับระดู ต้องนอนพักผ่อนอยู่บ้าน เพื่อรักษาตัว แต่ก็ได้รับรู้การเรียนการสอนมาจากเพื่อนๆค่ะ การเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการอบรมในวันศุกร์-วันเสาร์นี้ เวลา 08.30 -16.00 น. พร้อมกับแนะนำงานจิตอาสาของทางคณะศึกษาศาสตร์ด้วยค่ะ 

อาจารย์กำลังอธิบายเรื่องที่สอน
    หัวข้อในการสอนวันนี้คือ "กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. พุทธศักราช 2546 และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551" 

🌷สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ🌷

มาตรฐาน ค 1.1 
    เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

มาตรฐาน ค 1.2 
    เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค 1.3 
    ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา

มาตรฐาน ค 1.4 
    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้




🌷สาระที่ 2 การวัด🌷

มาตรฐาน ค 2.1 
    เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด

มาตรฐาน ค 2.2 
    แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด


🌷สาระที่ 3 เรขาคณิต🌷

มาตรฐาน ค 3.1 
    อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ

มาตรฐาน ค 3.2 
    ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา


🌷สาระที่ 4 พีชคณิต🌷

มาตรฐาน ค 4.1 
    เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน

มาตรฐาน ค 4.2 
    ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา


🌷สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น🌷

มาตรฐาน ค 5.1 
    เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล

มาตรฐาน ค 5.2 
    ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล

มาตรฐาน ค 5.3 
   ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา

🌷สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์🌷

มาตรฐาน ค 6.1 
    มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 


    หลังจากที่อาจารย์ได้สอบเรื่องข้างต้นจบแล้วนั้น อาจารย์ได้สอนในเรื่องการแยกหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อยๆ ตัวอย่างคือหน่วยไข่และหน่วยนก 

นี่คือหน่วยนกของหนูค่ะ
    สุดท้ายแต่ยังไม่ท้ายสุด อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผ่นพับในหน่วยอะไรก็ได้ แต่ทำโดยใช้สิ่งที่อาจารย์สอน จากนั้นใส่ในBlogครั้งสุดท้ายด้วย


นี่คือแผ่นพับหน่วยต้นไม้ของหนูค่ะ

    ก่อนที่จะจากลากันไปในครั้งสุดท้ายของวิชานี้ ก็มีการพูดคุยกันระหว่างนักศึกษากับอาจารย์เล็กน้อย เกี่ยวกับการเรียนการสอนตลอด 1 เทอมที่ผ่านมาว่าได้รับความรู้และประโยชน์อะไรบ้าง


*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷คำศัพท์ครั้งที่ 13🌷

Visualization    การนึกภาพ
Spatial reasoning    เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ
Geometric model    แบบจำลองเรขาคณิต
     Mathematical model    ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
Pattern   วิเคราะห์แบบรูป 

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินอาจารย์ : ตลอดระยะเวลา 1 เทอมที่ผ่าน อาจจะต้องมีการปรับเข้าหากันระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ อาจารย์ทำส่วนนี้ได้ดีมากค่ะ มีการสื่อสารที่ตรงกันมากขึ้น อาจารย์เต็มที่กับการจัดกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ให้นักศึกษาจริงๆ การถ่ายทอดความรู้ก็ไม่เป็นรองใครค่ะ การเน้นย้ำ การถามให้นักศึกษากล้าตอบ ทำให้เหมือนเราฟังเพลงเดิมๆวนซ้ำๆสักวันหนึ่งเราก็จะร้องได้ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ สำหรับความรู้ ความเมตตากรุณานักศึกษาซนๆอย่างพวกหนู หากพวกหนูทำอะไรผิดไปให้อาจารย์ให้เสียใจ ขอให้อาจารย์ให้อภัยพวกหนูด้วยนะคะ รักอาจารย์เสมอค่ะ เจอกันใหม่ในปีการศึกษาหน้านะคะ 💖

ประเมินเพื่อน : สำหรับเพื่อนๆในรายวิชานี้ พวกเราช่วยเหลือกันมาตลอดทั้งในเรื่องการคำปรึกษา การลงความเห็น การมีน้ำใจต่อกัน ทำให้เห็นความรักกันภายในเซคมากค่ะ ว่าเพื่อนๆรักกันและรักเรามากแค่ไหน ก็ต้องขอบคุณเพื่อนๆที่ไม่ว่ายังไง ก็ช่วยกันเรียนมาจนจบปีการศึกษา ปีการศึกษาหน้าหวังว่าจะรอดพ้น ไม่มีใครหลุดไปไหนก่อนนะ 💞

ประเมินตัวเอง : ตัวหนูเองเทอมที่ผ่านมานี้ ในรายวิชานี้ แย่มากค่ะในเรื่องของการมาสาย แต่การขาดเรียนนั้นก็ต้องขอชื่นชมตัวเองที่บางครั้งป่วยก็ยังฝืนมาเรียน ในห้องเรียนนั้น หนูเต็มที่กับการเรียนจริงๆค่ะ พยายามนั่งใกล้ๆอาจารย์เพื่อสะดวกต่อการรับรู้ความรู้ ได้สบสายตาอาจารย์เวลาเรียน ตั้งใจตอบคำถามทุกคำถามที่อาจารย์ถาม ถึงแม้จะผิดบ้างถูกบ้างในตอนแรกๆ แต่ช่วงหลังๆก่อนหมดคลาส หนูก็สามารถพัฒนาตัวเองด้วยการตอบคำถามที่อาจารย์ถามได้ค่ะ สื่อก็ทำด้วยความปราณีตความตั้งใจ การเจอกันใหม่ของหนูกับอาจารย์ในครั้งหน้า หนูตั้งใจจะพัฒนาตัวเองในการเรียนให้ดีมากขึ้น ขอบคุณอาจารย์และรายวิชานี้อีกครั้งนะคะ ที่ทำให้หนูมีความสุขในการเรียน 💗

ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนการสอนในวันนี้ได้เรื่องกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
มาอย่างเต็มที่เลยค่ะ ความรู้ในรายวิชาก็เหมือนกัน ทำให้หนูได้มองสื่อทางคณิตศาสตร์เปลี่ยนไป
ได้มองการสอนคณิตศาสตร์เด็กในมุมมองของครูปฐมวัย ไม่ใช่มุมของคนอื่น 
ที่มองว่าเด็กปฐมวัยก็คงเรียน เขียนเลข บวกเลข นับเลข แค่นั้นแล้วจบไป



ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

การเรียนการสอนครั้งที่ 12


วันพุธ ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562


    วันนี้การเรียนการสอนเป็นการเรียนรวมทั้ง 2 เซค เป็นการเรียนการสอนครั้งแรกหลังจากที่หยุดสงกรานต์ไปยาวนาน วันนี้อาจารย์ได้ส่งลิ้ง http://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/Math-framework-for-ECE.pdf ให้นักศึกษาทำ Mind map ในหัวข้อเรื่อง "คู่มือการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" และนี่คือใบ Mind map ของหนูค่ะ

คู่มือการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    และนี่ก็คือบรรยากาศนักศึกษาในห้องที่กำลังตั้งหน้าตั้งตาทำ Mind map 




*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷คำศัพท์ครั้งที่ 12🌷

Stop     หยุด
Frame    กรอบ
Handbook    คู่มือ
For    สำหรับ
And    และ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚
   
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสมากค่ะ ให้นักศึกษาได้รู้จักการเรียนรู้ด้วยตัวเองในคาบเรียน เพราะ รู้ว่านักศึกษากลับบ้านไปส่วนมากก็คงไม่อ่านหนังสือ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆให้ความช่วยเหลือกันดีมากค่ะ ใครไม่มีปากกาเมจิกสี หรือไม่มีสีที่ใช้ในการตกแต่งก็แบ่งกัน ใครไม่เข้าใจตรงไหนก็ช่วยกันอธิบาย และเพื่อนๆตั้งใจทำงาน ทำความเข้าใจกันมากค่ะ

ประเมินตัวเอง : ตัวหนูเองตั้งใจทำความเข้าใจมากๆค่ะ เพราะ ถือว่าได้โอกาสอ่านหนังสือแล้วก็อย่าปล่อยให้โอกาสหลุดมือกัน

ความรู้ที่ได้รับ

การที่เราจะเป็นคุณครูนั่นต้องจำกรอบมาตรฐานได้ทุกวิชาที่เราสอน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า 
เราจะจัดกิจกรรมไปในทิศทางไหน และเพื่อพัฒนาทักษะในด้านนั้นๆของเด็กๆได้อย่างไร



ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

ตัวอย่างสื่อการสอน


ตัวอย่างสื่อการสอน
กล่องแยกรูปทรง


วัตถุประสงค์
  1. ส่งเสริมค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง ในด้านการเห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้
  2. ส่งเสริมทักษะทางการจำแนกและเปรียบเทียบรูปทรงเรขาคณิต
  3. ส่งเสริมการรับรู้เรื่องสีและขนาด
วิธีการสอน
  1. นำกล่องธรรมดาที่เป็นวัสดุทำตัวกล่องสื่อ มาถามเด็กๆว่า "เด็กๆคิดว่ากล่องลังกระดาษ เอาไปทำอะไรได้บ้างคะ" (เราต้องพยายามกระตุ้นให้เด็กตอบคำถามที่หลากหลายและแตกต่างกัน)
  2. แนะนำสื่อ กล่องแยกรูปทรง ที่ทำมาจากกล่องลังกระดาษ
  3. ให้เด็กๆได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรงและสีก่อน
  4. ใช้เล่นเกมแยกรูปทรงใส่กล่อง โดยให้เด็กๆหยิบรูปทรงตามใจชอบ ใส่ลงไปในช่องที่มีรูปทรงเหมือนกันจนหมดทุกชิ้น




ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

การเรียนการสอนครั้งที่ 11


วันพุธ ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562


    วันนี้เป็นวันกำหนดส่งสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แต่ก่อนอื่นอ.จ๋าก็ไม่ลืมที่จะขอตรวจสอบบล็อคของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงระยะเวลาที่ใกล้ส่งเข้ามาทุกที และเพื่อนำคำติชมของอ.จ๋าไปปรับปรุง แก้ไข เร่งทำให้ทันครั้งปัจจุบัน

อ.จ๋ากำลังตรวจบล็อคของนักศึกษา
    จากนั้นอ.จ๋าให้นักศึกษาเขียนชื่อสื่อของกลุ่มตัวเองพร้อมชื่อสมาชิกในกลุ่มลงในกระดาษที่ใช้แล้ว เพื่อให้อ.จ๋าเขียนคำติชม

หนูกำลังเขียนใบให้อาจารย์ค่ะ

    เป็นช่วงเวลาของการตรวจสื่อของนักศึกษาแต่ละกลุ่มแล้วค่ะ ส่วนใหญ่ทำออกมาได้ดี ไม่ค่อยมีคำติเท่าไหร่มีแต่คำชม 



เพื่อนๆกำลังนำเสนองาน
*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

    งานกลุ่มชิ้นนี้ หนูได้ทำร่วมกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง คือ นายชัยพฤกษ์ ไชยวาสน์ เราร่วมกันวางแผนและทำด้วยกันเกือบทุกขั้นตอนเลยค่ะ

งานสื่อกลุ่มหนูแบบพร้อมส่งค่ะ

วางแผนการทำสื่อ

ตัดกระดาษทรายให้เป็นตัวเลข และวงกลม

นำตัวเลขมาติดลงบนกระดาษแข็งขนาดครึ่ง A4

นำวงกลมมาติดตามค่าของตัวเลขนั้นๆ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚


    🌷คำศัพท์ครั้งที่ 10🌷

Check   ตรวจสอบ
Comment   คำติชม
Member   สมาชิก
Plan   วางแผน
Step   ขั้นตอน

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินอาจารย์ : แนะนำได้ดีค่ะ เข้าใจง่ายสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆก็ตั้งใจนำเสนอชิ้นงานของตัวเองกันมากค่ะ
ประเมินตัวเอง : ตั้งใจทำสื่อทุกขั้นตอน ตั้งแต่วางแผนยันนำเสนอเลยค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ

การยอมรับข้อผิดพลาดและยินดีที่จะปรับปรุงสื่อที่ตัวเองตั้งใจทำเป็นเรื่องดี 
นอกจากจะฝึกการยอมรับคำติชมแล้ว ยังสามารถนำคำติชมเหล่านั้นไปใช้ได้ในงานต่อๆไป


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

การเรียนการสอนครั้งที่ 10


วันพุธ ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ เพราะ ต้องไปเรียนชดเชยกับอ.พัขรา


*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿


การเรียนการสอนครั้งที่ 9


วันพุธ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562


    วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งค่ะ ที่นักศึกษาแต่ละคนตั้งหน้าตั้งตา แบกสื่อชิ้นงานของกลุ่มตัวเองมา ณ ห้องเรียนแห่งนี้




เพื่อนๆแต่ละกลุ่มกำลังนำเสนอสื่อ

    อ.จ๋าได้ดูความคืบหน้างานของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ถามเรื่องวัสดุว่ากลุ่มไหนต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ จากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนองานแก่อ.จ๋า เพื่อที่จะได้นำคำติชม ไปแก้ไข ปรับปรุง ให้เหมาะสมกับความสนใจของเด็ก หรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่อ.จ๋าให้ทำชิ้นนั้นๆหรือไม่

เพื่อนได้นำเสนอวิธีการเล่นของสื่อที่ตนได้มา

นี่คือสื่อที่คู่หนูได้

    ก่อนหมดการเรียนการสอนของวันนี้ อ.จ๋าให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มหยิบสื่อของรุ่นพี่ ที่ทำสื่อจากแผงไข่ ออกมานำเสนอวิธีการเล่นของสื่อชิ้นนั้นๆค่ะ

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷คำศัพท์ครั้งที่ 9🌷

Present   นำเสนอ
Group   กลุ่ม
Material   วัสดุ
Media   สื่อ
Objective   วัตถุประสงค์

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินอาจารย์ : ให้คำแนะนำเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุง แก้ไขได้ดีค่ะ เข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆส่วนใหญ่ทำงานสื่อกันเสร็จแล้ว มีความรับผิดชอบดีค่ะ พยายามทำความเข้าใจในการเรียนดี
ประเมินตัวเอง : เข้าใจงานดีค่ะ รับฟังและแสดงความคิดเห็นภายในห้องดีค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ 
สื่อแต่ละชิ้นมีสิ่งที่ดึงดูดให้เด็กสนใจในตัวอยู่แล้ว อยู่ที่นักศึกษาจะสามารถดึงส่วนนั้นออกมาได้หรือไม่
นอกจากการน่าสนใจแล้ว ยังต้องเหมาะสมกับวัยของเด็กแต่ละคนด้วยค่ะ


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿


สรุปบทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปบทความเรื่อง : 5 ทักษะสำคัญ สำหรับลูกรักก่อนวัยเรียน
โดย : minorsmartkids

    เด็กๆ ควรมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับพวกเขาก่อนที่จะเริ่มเรียนรู้อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งที่โรงเรียน ทักษะที่ว่าคือ …
  1. ทักษะการจำแนกประเภท  คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของ
    โดยมีเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งเด็กส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง
  2. ทักษะการเปรียบเทียบ  คือ ความสามารถในการบอกว่าสิ่งใดมีขนาดใหญ่กว่า หรือเล็กกว่า เช่นเด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลสองลูก ลูกใดมีขนาดใหญ่ที่สุด การเปรียบเทียบเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับเมื่อโตขึ้นไป
  3. ทักษะการจัดลำดับ  คือ ความสามารถในการเรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง ถือว่าเป็นการเปรียบเทียบขั้นสูง เข้าใจว่าสิ่งใดเกิดก่อนและหลัง
  4. ทักษะการวัด  คือ ความสามารถในการเปรียบเทียบรูปแบบหนึ่ง เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกว่า เชือกมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม
5. ทักษะการนับ  เด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย คือการท่องจาก 1 ไปถึง 10 โดยอาศัยการจำ แต่ควรส่งเสริมให้พวกเขานับและเชื่อมโยงกับสิ่งของได้ เช่นการนับจำนวนของเล่นที่มี  แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย

ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿