วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนครั้งที่ 6


วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


    การเรียนการสอนของวันนี้เริ่มด้วยการที่นักศึกษาส่งงาน "ออกแบบสำรวจการมาโรงเรียนของเด็กปฐมวัย" ที่อ.จินตนาได้สั่งไว้เมื่อครั้งที่แล้วค่ะ 

Clip งานออกแบบสำรวจการมาเรียนของเด็กปฐมวัย

    จากนั้นอ.จินตนา ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน จากนั้นตั้งชื่อกลุ่ม พร้อมทั้งเขียนชื่อสมาชิกภายในกลุ่มด้วย
    
ใบรายชื่อของกลุ่มหนูค่ะ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:* 
 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚
   🌷🌷🌷🌷 พักใบข้างบนไว้ก่อนนะคะ 🌷🌷🌷🌷

    กิจกรรมที่ 1 
ขั้นแรก อ.จินตนาให้นักศึกษาตัดกระดาษแข็งเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4*4 นิ้ว คนละ 1 แผ่นค่ะ จากนั้นเขียนชื่อตัวเองใต้กระดาษ
กระดาษแข็งวัด 4*4 นิ้ว

ขั้นที่สอง อ.จิตนาได้แจกดินน้ำมันให้นักศึกษาคนละ 1 ก้อน 

ดินน้ำมันคนละ 1 ก้อน

ขั้นที่สาม ให้นักศึกษาปั้นรูปทรงอะไรก็ได้ เป็นรูปทรง 2 มิติ ตัวหนูเองปั้นมันทั้งสองแบบเลยค่ะ แต่ตกลงจะใช้รูปหัวใจในการทำกิจกรรม ซึ่งรูปหัวใจนั้น มีรูปทรงสามเหลี่ยมค่ะ

ปั้นรูปทรง 2 มิติ คนละ 1 อัน

ขั้นที่สี่ อ.จินตนาให้นักศึกษาใช้ดินน้ำมันและไม้จิ้มฟันที่อาจารย์ให้นำมาจากบ้าน มาทำเป็นรูปทรง 3 มิติ ตามรูปทรงที่ตัวเองทำ เช่น ของหนู รูปหัวใจเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ก็ทำรูปทรง 3 มิติ รูปทรงสามเหลี่ยมค่ะ
รูปทรง 3 มิติ ของหนู

ของเพื่อนๆในเซคค่ะ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

 🌷🌷🌷🌷 อ.จินตนาไปทำธุระ 🌷🌷🌷🌷

    แต่ก็ได้ฝากชิ้นงานไว้ 2 ชิ้น ได้แก่
  • งานเดี่ยว : ออกแบบสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ( ให้ทำส่งในห้อง)
ตัวอย่างสื่อของหนู


  • งานกลุ่ม : ออกแบบสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ( ให้ส่งครั้งหน้า )

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷 คำศัพท์ครั้งที่6 🌷

Survey   สำรวจ
Square   สี่เหลี่ยมจัตุรัส
Shape   รูปทรง
Dimension   มิติ
Toothpick   ไม้จิ้มฟัน

 *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินตัวเอง : ตั้งใจมาเรียนตรงเวลาค่ะ ตั้งใจทำทุกๆกิจกรรมของอ.จินตนาค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเอาไม้จิ้มฟันมา มาเรียนกันก็ไว 
ประเมินอาจารย์ : ถึงอาจารย์จะมีธุระแต่ก็ยังให้นักศึกษาทำงาน เพื่อเป็นการใช้ความคิดค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ

การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ไม่จำเป็นต้องสอนแค่เรื่องของเลขเท่านั้น ยังสามารถสอนเรื่องรูปทรงได้อีกด้วย 


ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿



วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนครั้งที่ 5


วันพุธ ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562



    วันนี้อ.จินตนาได้พูดคุยกับนักศึกษาในเรื่องต่างๆ ก่อนที่จะให้นักศึกษาออกมานำเสนอแผ่นชาร์ต เรื่อง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่แต่ละกลุ่มได้ทำในคาบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว





Mind map ของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มที่นำมานำเสนอ

    เมื่อเพื่อนๆนักศึกษาออกมานำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก็ได้มีข้อบกพร่องนิดหน่อยที่อ.จินตนาจับสังเกตได้ จึงให้คำแนะนำในเรื่องต่อไปนี้
🌸 การแนะนำตัว
  • ให้แนะนำคนที่ไกลตัวเองที่สุดก่อนและแนะนำตัวเองคนสุดท้าย เช่น ตัวเองนั่งทางซ้ายสุด ให้แนะนำว่า "เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆนักศึกษาทุกคน วันนี้กลุ่มของดิฉันจะมานำเสนอเรื่องการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยสมาชิก ทางขวามือสุดของดิฉัน .......... (ไล่มาตามลำดับ) ................. และดิฉัน................."
🌸 การพูดนำเสนอ
  • พูดควบกล้ำ ร ล ให้ชัดเจน
  • เวลาสอนเด็กร้องเพลงให้ใช้เทคนิคการสอน ที่ได้เรียนมาในวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
กลุ่มของหนูกำลังนำเสนองานค่ะ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

พัก 10 นาที

    หลังจากพักแล้ว อ.จินตนาต้องการคนช่วย Link Blog ของนักศึกษาให้อาจารย์ หนูจึงขออาสาสมัครทำให้อาจารย์ค่ะ เพราะ ในขณะที่เพื่อนๆกำลังทำป้ายชื่ออยู่นั้น หนูทำเสร็จแล้วค่ะ

Link รายชื่อเพื่อนๆกับ Blog ของอ.จ๋า

💟นี่คือ ป้ายชื่อของหนูเองค่ะ💟


    ที่อ.จินตนาให้นักศึกษาทำป้ายชื่อขึ้นมานั้น เพื่อที่จะต่อยอดในเรื่อง การสำรวจการมาโรงเรียนของเด็ก เป็นกิจกรรมชีวิตประจำวันของเด็ก ซึ่งก็เป็น 1 ในเรื่องของคณิตศาสตร์ ดังนี้
🌸 จำนวนเด็กที่มาโรงเรียน
  • การนับจำนวน การเพิ่ม การบอกจำนวน การใช้เลขฮินดูอารบิก หลักหน่วยและหลักสิบ
🌸 จำนวนเด็กที่ไม่มาโรงเรียน
  • การนับจำนวน การลด การบอกจำนวน การใช้เลขฮินดูอารบิก หลักหน่วยและหลักสิบ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

เพื่อนๆกำลังนั่งอวดบัตรชื่อตัวเอง

    ก่อนที่จะหมดคาบเรียนไป อ.จินตนาได้สั่งการบ้านให้นักศึกษาไปออกแบบแผ่นสำรวจการมาโรงเรียน ใส่กระดาษ Reuse และทุกๆครั้งของการมาเรียนให้เอาป้ายชื่อของตัวเองมาด้วย

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷 คำศัพท์ครั้งที่5 🌷

Mistake   ข้อบกพร่อง
Suggestion   คำแนะนำ
Introduction   การแนะนำตัว
Volunteer   อาสา
Name tag   ป้ายชื่อ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ใส่ใจนักศึกษามากค่ะ ต้องการให้นักศึกษาได้ความรู้กลับไปมากที่สุดทุกครั้งที่ได้เรียน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความเตรียมพร้อมในการนำเสนอ แต่ยังขาดการหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของเนื้อเพลงและนิทานที่เอามานำเสนอ นอกนั้นดีมากค่ะ แผ่นชาร์ตสวยงาม ให้ความร่วมมือในทุกๆกิจกรรมของอาจารย์ดี
ประเมินตัวเอง : ขึ้นเรียนก่อนเวลาเรียนค่ะ ตั้งใจนำเสนอและตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนๆนำเสนอด้วยค่ะ จดทุกเทคนิคและความรู้เพิ่มเติมที่อาจารย์ได้แนะนำอย่างละเอียดค่ะ 

ประโยชน์ที่ได้รับ

เพียงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราดูเป็นคนมีภูมิฐานมากค่ะ ทั้งในเรื่องการแนะนำสมาชิก การพูด




ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนครั้งที่ 4


วันศุกร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

    วันนี้อ.จินตนาได้นัดนักศึกษาทั้ง 2 เซค มาเรียนที่ห้อง 433 เพื่อมาเรียนร่วมกันและพูดคุยเรื่องการเรียนในครั้งต่อๆไป

เพื่อนๆทั้ง 2 เซคมารอเรียนค่ะ

    กิจกรรมแรก อ.จินตนาได้แจกกระดาษA4แก่นักศึกษาคนละแผ่น แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วนแล้วเขียนหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับตัวเอง ดังนี้
  • ครอบครัว
  • ลักษณะของตัวเอง
  • ความสามารถพิเศษ
  • ประโยชน์ของตัวเอง
   โดยกิจกรรมนี้อ.จินตนา ต้องการทราบถึงวิธีการนำเสนอของนักศึกษา โดยให้เหตุผลว่าคุณครูที่ดีต้องมีแนวการนำเสนอการสอนที่ดี

Mind map นำเสนอตัวเองของหนูค่ะ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

    กิจกรรมที่สอง อ.จินตนาได้แบ่งนักศึกษาเซค1 กลุ่มละ 5 คน เซค2 กลุ่มละ 4 คน แล้วให้นำเสนอการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมี 3 หัวข้อ ดังนี้
  • กิจกรรม
  • สื่อ
  • เทคนิค
เพื่อนๆในกลุ่มต่างช่วงกันหาข้อมูลทำงาน

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷 คำศัพท์ครั้งที่ 4 🌷

Topic   หัวข้อ
Talent   ความสามารถพิเศษ
Vantage   ประโยชน์
Reason   เหตุผล
Technique   เทคนิค

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

ประเมินอาจารย์: อ.จินตนามีเทคนิคการสอนที่เน้นให้เด็กลงมือ ไม่ใช้การบรรยายถือว่าเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องการมากๆเลยค่ะ
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆตั้งหน้าตั้งตามาเรียนกันมากค่ะ พอถึงเวลาทำกิจกรรมก็ทำกันอย่างเต็มที่ มีความสามัคคีมากค่ะ
ประเมินตัวเอง: ตั้งใจเสนอแนวทางการนำเสนอที่เปป็นตัวเองออกมาให้มากที่สุดค่ะ งานกลุ่มก็ตั้งใจทำยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ

ตัวตนของเราสามารถดูได้จากการนำเสนอว่าเรามีความคิดสร้างสรรค์มากแค่ไหน




ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การเรียนการสอนครั้งที่ 3


วันพุธ ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562


    วันนี้อ.จินตนาได้สอนแนวคิดการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ให้กับนักศึกษาที่อนาคตจะต้องไปเป็นครูสอนเด็กปฐมวัย ด้วยกิจกรรมที่ใช้ดินน้ำมันเป็นสื่อกลาง

ดินน้ำมันกลุ่มละ 8 ก้อน
เพื่อนๆกำลังคิดหาวิธีทำภาชนะใส่ดินน้ำมันจากกระดาษ A4



     โดยอ.จินตนาจะแบ่งนักศึกษาออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน จากนั้นให้ดินน้ำมันก้อนใหญ่ไป 4 ก้อน และให้กระดาษA4 มาเพื่อให้นักศึกษาลองทำภาชนะใส่ดินน้ำมันทั้งหมดนี้ สุดท้ายก็แบ่งออกเป็น 8 ก้อน

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

    อ.จินตนาให้นักศึกษาคนนึงหยิบดินน้ำมันจากภาชนะมา 1 ก้อนแล้วส่งต่อทางขวามือ 
 "ถ้าหากดินน้ำมันเหลือ =  จำนวนดินน้ำมันมีมากกว่าคน
ถ้าหากดินน้ำมันไม่พอ = จำนวนคนมีมากกว่าดินน้ำมัน "

ผลไม้จากดินน้ำมันของหนูค่ะ

    จากนั้นอ.จินตนาให้นักศึกษานำดินน้ำมันมาปั่นเป็นผลไม้ สามารถนำสีอื่นๆมาจากเพื่อได้ แล้วเอาออกไปวางเป็นแถวแนวนอนตามกลุ่ม และร่วมกันวิเคราะห์ว่าเด็กปฐมวัยจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง


*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

เพื่อนๆแต่ละกลุ่มกำลังช่วยกันทำงานค่ะ

ทางกลุ่มหนูก็มีการแบ่งหน้าที่กันเป็นอย่างดี

    กิจกรรมสุดท้าย อ.จินตานาให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2-3 คน จากนั้นก็ให้ทำสื่อเพื่อการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรนั้น สัปดาห์ถัดไปจะได้มาเห็นกันค่ะ

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚

🌷 คำศัพท์ครั้งที่ 3 🌷

Clay   ดินน้ำมัน
Container   ภาชนะ
Horizontal   แนวนอน
Analyze   วิเคราะห์
Role   หน้าที่

*.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚‘゚・✿.。.:*  *.:。✿*゚
ประเมินอาจารย์: อ.จินตนาสอดแทรกความรู้ไปเกือบทุกๆนาทีที่สอนเลยค่ะ ทั้งเรื่องการจัดประสบการณ์ เรื่องความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
ประเมินเพื่อน: เพื่อนๆเต็มที่กับทุกๆกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียมพร้อมมาให้ค่ะ
ประเมินตัวเอง: ครั้งนี้มาเรียนสายค่ะ ครั้งหน้าจะมาให้ไวกว่าเดิมแน่นอนค่ะ เต็มที่กับทุกกิจกรรมและพยายามทำความเข้าใจกับความรู้ที่อาจารย์มอบให้ค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
เพียงดินน้ำมันแค่อย่างเดียว ก็สามารถนำไปสอนเด็กได้หลายอย่าง



ʕ ·ᴥʔ ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของดิฉัน ʕᴥ· ʔ
✿♥‿♥✿ หวังว่า Blog วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ของดิฉัน 
จะสามารถเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านนะคะ ✿♥‿♥✿